Teachings of Buddha Product by manoon Chongwattananukul

คลิป มาร์ค ซัคเกอร์เบิร์ก ผู้ก่อตั้ง Facebook ในรายการ โอปราห์ วินฟรีย์

วันเสาร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2553

"แบล็คเบอร์รี่" สัญญะ "ความรวย" ผลไม้จากเมืองนอกราคาแสนแพงที่คนจนหมดสิทธิ์




Blackberry-Bold


Blackberry-Diamond


Obama′s-BB

วันที่ 01 มกราคม พ.ศ. 2553 เวลา 14:38:53 น. มติชนออนไลน์

"แบล็คเบอร์รี่" สัญญะ "ความรวย" ผลไม้จากเมืองนอกราคาแสนแพงที่คนจนหมดสิทธิ์

นับตั้งแต่ที่โทรศัพท์มือถืออนุญาตให้เจ้าของใช้งานมันได้มากกว่าการพูด คุยกันเพียงอย่างเดียว สิ่งที่ตามมาก็คือฟังก์ชั่นหรือการทำงานที่หลากหลายมากขึ้น เน้นความเป็นอเนกประสงค์มากขึ้น ทำให้เจ้าของรู้สึกว่า "คุ้มค่า" ที่ได้ครอบครองมือถือเครื่องนั้น


บริษัทที่ผลิตก็จำต้องสรรค์สร้างโทรศัพท์มือถือที่มีลูกเล่นแปลกใหม่ ไม่ซ้ำใคร เพื่อตีตลาดและดึงดูดลูกค้า ปัจจุบัน

เราจึงได้เห็นมือถือที่สามารถดูทีวีได้ ใส่ได้สองซิม หรือแม้แต่เล่นอินเทอร์เน็ต รับส่งอีเมลล์ ทำงานคล้ายกับคอมพิวเตอร์เข้าไปทุกที ซึ่งมือถือที่ทำแบบนี้ได้และกำลังอยู่ในความสนใจของสังคมก็คือ "แบล็คเบอร์รี่" นั่นเอง


การเปิดตัวครั้งแรกของ "แบล็คเบอร์รี่ (บีบี)" ในไทยประมาณปี 2549 นั้น ไม่ได้รับการตอบรับจากตลาดเท่าที่ควรเพราะสินค้าเน้นที่บริการ Push Mail เป็นหลัก จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์สินค้าเสียใหม่ โดยทำให้ขนาดมีความเล็กกะทัดรัด พร้อมด้วยหน้าจอเป็นระบบสัมผัส พร้อมทั้งใช้กลยุทธ์ทางการตลาดแบบปากต่อปาก โดยแจกเครื่องให้กับศิลปินดาราให้เข้ามาใช้บริการซึ่งก็ได้ผล และนั่นเป็นจุดเริ่มกระแสของ "แบล็คเบอร์รี่" หรือ "บีบี" ให้ก่อตัวขึ้นในกลุ่มวัยรุ่นไทย เพราะต้องยอมรับว่าในปัจจุบันกระแสนิยมของคนหมู่มากและโดยเฉพาะอย่างยิ่งใน บุคคลที่เป็นที่รู้จักกันดีในสังคมมีอิทธิพลกับความคิดของคนทั่วไปมากที เดียว


แต่ดูเหมือนว่ากระแสของบีบีจะไม่สามารถส่งไปถึงคนทั้งสังคมได้ สังคมเสมือนจริงของบีบียังคงแพร่กระจายไปได้เพียงคนกลุ่มน้อยของสังคมจริงๆ เท่านั้น เพราะปัจจัยที่เป็นข้อจำกัดการขยายตัวของสังคมบีบีก็คือ "เงิน" นั่นเอง และเงินก็ยังเป็นปัจจัยที่ผู้คนส่วนมากของสังคมขาดแคลนมากที่สุด จึงทำให้สังคมบีบี ไม่สามารถแพร่ขยายไปยังผู้คนส่วนใหญ่ของสังคมได้


สำหรับความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่อง "แบล็คเบอร์รี่" มือถือสุดไฮโซ เริ่มจาก "ปูน" นักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง "มัน ก็เหมือนกับเป็นปาล์มแบบหนึ่งนั่นแหละ มีลูกเล่นเยอะ แต่จริงๆ แล้ว เวลาใช้มือถือส่วนใหญ่ก็แค่โทรเข้าออกเท่านั้น อาจจะถ่ายรูป ฟังเพลงบ้างแต่ก็ไม่เยอะ ส่วนเรื่องแชทที่ว่าเป็นจุดเด่นของบีบี ถ้าเพื่อนในกลุ่มไม่มีใครใช้ก็จบ ซื้อแพงมาก็เท่านั้น และถึงจะมีเพื่อนหรือคนรู้จักซื้อมาใช้จริงก็คงไม่หาซื้อมาใช้ด้วยเพราะราคา แพง ไม่รู้จะซื้อมาอวดใครหรือมาแชทกับใคร"


ด้าน "จุ๊บ" นักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง กล่าวถึงเครื่องบีบีว่า "รู้สึกว่าเครื่องมันดูดีนะ ดูไฮโซ น่าสนใจน่าใช้ดี ลูกเล่นเยอะ ดูแล้วน่าจะประหยัดค่าโทรศัพท์ได้มาก เพราะมีระบบแชทเอาไว้คุยกับเพื่อนได้ตลอด ถึงราคาจะแพงแต่ถ้ามีคนรู้จักใช้เยอะๆ ก็คงคุ้ม ส่วนตัวแล้วถ้าจะให้ซื้อมาใช้จริงๆ คงไม่เอาเพราะคิดว่าไม่จำเป็นถึงขนาดนั้น"

จากคำให้สัมภาษณ์ที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่า "แบล็คเบอร์รี่" เป็นคำนิยามที่คนในสังคมมอบให้สิ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจน คือ "ความหรูหรา ไฮโซ" เครื่องมือที่แต่เดิมเราเรียกกันว่าโทรศัพท์เครื่อนที่เพื่อการสื่อสารนั้น ถูกปรับเปลี่ยนหน้าที่เดิม ให้กลายสภาพมาเป็นเครื่องมือในการยกระดับฐานะของผู้ใช้โดยที่หน้าที่ๆ จำเป็นจริงๆ ถูกลดทอนความสำคัญลงไป


เมื่อหน้าที่เดิมถูกแทนที่ กลุ่มคนที่เสพติดกับสัญลักษณ์แห่งความหรูหราก็เริ่มเข้ามามีบทบาทและกลายเป็นผู้บริโภครายใหญ่ของเจ้ามือถือยี่ห้อดังนี้ อีกทั้งตัวกระตุ้นสำคัญที่ก่อให้เกิดกระแสแห่งความหรูหราอย่างสื่อนั้นก็ยังคงทำหน้าที่ของตนเองอย่างสุดความสามารถ สิ่งเหล่านี้ยิ่งทำให้ แบล็คเบอร์รี่ กลายสภาพจากความจำเป็นมาเป็นความฟุ่มเฟือยอย่างที่ตัวมันก็ไม่รู้ตัว


ชื่อ "แบล็คเบอร์รี่ " ไม่ได้เป็นชื่อที่ตั้งให้ดูเก๋ไก๋เท่าน้น ด้วยความที่มันเป็นผลไม้ราคาสูงและไม่ใช่ว่าคนทั่วไปจะหาซื้อมาทานกัน จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่ทางผู้ผลิตจะเลือกเอาชื่อของผลไม้ชนิดนี้มาตั้งให้กับ เจ้าโทรศัพท์มือถือสุดไฮโซ "แบล็คเบอร์รี่" ผลไม้จากเมืองนอกราคาแสนแพงที่คนจนหมดสิทธิ์

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1262330352&grpid=&catid=05

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น