Teachings of Buddha Product by manoon Chongwattananukul

คลิป มาร์ค ซัคเกอร์เบิร์ก ผู้ก่อตั้ง Facebook ในรายการ โอปราห์ วินฟรีย์

วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

Facebook | Museum Siam: มาริโอ ตามาญโญ คือใคร มาจากไหน

Facebook | Museum Siam: มาริโอ ตามาญโญ คือใคร มาจากไหน
มาริโอ ตามาญโญ คือใคร มาจากไหน
มาริโอ ตามาญโญ (Mario Tamagno) เป็นสถาปนิกชาวอิตาลี เกิดเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พุทธศักราช 2420 ที่เมืองตูริน ประเทศอิตาลี เสียชีวิตเมื่อพุทธศักราช 2484 ที่ประเทศอิตาลี

ตามาญโญเข้ารับราชการในกระทรวงโยธาธิการแห่งประเทศสยามเมื่อปีพุทธศักราช 2443 โดยมีสัญญาว่าจ้างเป็นเวลา 25 ปี และมีผลงานการออกแบบในประเทศไทย ที่สำคัญหลายแห่ง เช่น สะพานมัฆวานรังสรรค์ พระที่นั่งอนันตสมาคม วังปารุสกวัน ท้องพระโรง วังสวนกุหลาบ สถานีรถไฟกรุงเทพ บ้านพิษณุโลก (ชื่อเดิมคือบ้านบรรทมสินธุ์) พระตำหนักเมขลารูจี ตึกไทยคู่ฟ้าทำเนียบรัฐบาล (ชื่อเดิมตึกไกรสร) ห้องสมุดเนลสันเฮส์ รวมทั้งอาคารกระทรวงพาณิชย์ (เดิม) หรือมิวเซียมสยามในปัจจุบัน
ภาพถ่ายของมาริโอ ตามาญโญ

วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

Facebook | JasMin Jaja: มิตรแท้ หรือที่ใคร ๆ เรียกว่า เพื่อนตาย

Facebook | JasMin Jaja: มิตรแท้ หรือที่ใคร ๆ เรียกว่า เพื่อนตาย
มิตรแท้ หรือที่ใคร ๆ เรียกว่า เพื่อนตาย
ในสังคมปัจจุบัน คำว่าเพื่อนตาย เริ่มที่จะหายากหรือมีจำนวนลดน้อยลง แต่สิ่งหนึ่งที่อาสาสมัครอิสรชนลงพื้นที่และพบเห็นมันยังคงมีอยู่ในกลุ่มคนยากไร้ที่สังคมมองข้าม อยากจะยกตัวอย่างกรณีหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นในหลาย ๆ ครั้ง เพราะ ทุกเดือนต้องมีคนสนามหลวงตายอย่างน้อยเดือนละครั้ง โดยเฉลี่ยที่ผ่านมา เพราะเขาเหล่านี้ไม่สามารถเข้าถึงรัฐสวัสดิการในเรื่องสุขภาพ อยู่ไปวัน ๆ แต่ก็ห่วงในสุขภาพของตนเองเท่าที่กำลังทำได้ เช่นเวลาที่เจ็บป่วยมาก็หาซื้อยาตามร้านขายยากินถ้าวันนั้นมีรายได้ เพราะฉะนั้นการลงพื้นที่ของอิสรชน เล็งเห็นว่าเรื่องยาเป็นเรื่องที่จำเป็นสำหรับในพื้นที่เป็นอย่างมาก
อิสรชน ดูแลเพื่อนที่สนามหลวง (คนเร่ร่อน ไร้บ้าน หรือ ผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ) ตั้งแต่เกิดจนตาย สิ่งที่สะท้อนใจมากสุด คือคนสนามหลวง บางส่วนตายแล้วไม่ได้ตาย คือ ไม่มีเอกสารยืนยัน รู้แต่ชื่อที่เรียกกัน ไม่สามารถแจ้งตายได้ สุดท้ายกลายเป็นนายที่ไม่ทราบชื่อ ไม่ระบุสัญชาติไปฝังที่ชลบุรี หรือบางคนที่มีหลักฐานก็สามารถตามญาติได้ บางทีญาติก็ไม่เอาแถมยังถามกลับมาว่า คนที่ตายทำงานได้เก็บเงินไว้ที่ไหนบ้างหรือเปล่า (ฟังแล้วก็สะท้อนใจ) หรือบางคนอย่างดีหน่อยก็มาเอาศพไปทำหรือเอากระดูกไปฝัง (ในกรณีที่ญาติตามหากันอยู่)
ในที่นี้จะยกกรณีที่ญาติไม่เอาศพ คนสนามหลวงรวบรวมเงินบางส่วน ร่วมกับอิสรชนเพื่อไปนำศพคนตาย (นามสมมติ นาย ก) ออกจากโรงพยาบาล ซึ่งตั้งแต่เช้าในวันที่ไปเอาศพ อิสรชนกับเพื่อนผู้ตาย(คนไร้บ้านที่นอนด้วยกัน ในกลุ่มเดียวกันกับผู้ตาย) มานั่งรอแต่เช้าเพื่อนำศพออกไปทำพิธี โดยมีญาติผู้ตายมาด้วย 2 คน เพื่อยืนยันเอกสาร เพราะก่อนหน้านี้ที่นาย ก เสียชีวิตในวันแรก อิสรชนทราบข่าวจากพื้นที่ก็ทำหนังสือประสานงานไปหาญาติตามที่อยู่ที่นาย ก ให้ไว้ก่อนตาย เมื่อญาติมาดำเนินเรื่อง แต่ไม่เอาศพ ให้เอาออกจากโรงพยาบาลและเผาเลย แต่ไม่มีเงินทำศพให้หรอกนะ มาดำเนินเรื่องให้เท่านั้น และคำถามที่ตามมา คือผู้ตายมีเงินเก็บหรือไม่ เมื่อช่วงบ่ายทำเรื่องเอาศพออกได้ คนสนามหลวงอีกคนที่ชื่อ ลุงแดง (ซึ่งตอนนี้ก็เสียชีวิตไปแล้วเช่น กัน) ที่รอฟังข่าวที่สนามหลวง ก็เป็นคนไปประสานงานที่วัด เพื่อทำพิธีสวดและเผาเลย โดยค่าเผาศพและค่าใช้จ่าย ในการเคลื่อนย้ายศพออกจากโรงพยาบาล ทั้งหมดนั้นอยู่ที่ประมาณ 5,000 บาท ซึ่งอิสรชนก็นำเงินบริจาคจากผู้ที่สนับสนุนงานของอิสรชนมาโดยตลอดมารวมกับคนสนามหลวงที่มาเรี่ยไรกันในพื้นที่ คนละเล็กละน้อย มารวมกันเพื่อส่งเพื่อนในวาระสุดท้ายให้ถึงสวรรค์ ภาพที่เห็นคือ คนสนามหลวงกลุ่มหนึ่ง ทั้งนั่งรถเข็น เดินไม่ค่อยได้ ค่อย ๆ เดินเข้าวัดมากันเพื่อรอทำพิธีการส่งเพื่อนในครั้งสุดท้าย และเมื่อเผาเสร็จญาติผู้ตายก็กลับ โดยให้คนสนามหลวงจัดการเรื่องกระดูกเอง ญาติไม่เอากระดูกกลับบ้าน ในเช้าวันต่อมาคนสนามหลวงสามสี่คน รวบรวมเงินกันคนละนิดหน่อย ไปเอากระดูกเพื่อนไปลอยที่แม่น้ำเจ้าพระยา และหลังจากนั้น เดือนกว่า ๆ ญาติผู้ตายตามมาเอาเงินที่่ผู้ตายได้ฝากไว้ตอนทำงานให้หน่วยงานภาครัฐ เป็นสิ่งที่น่ารันทดใจที่ว่า สุดท้ายเพื่อนตาย ก็เป็นพวกเขาเองที่สังคม มองไม่เห็นค่าของเขา แต่เขาก็ต้องอยู่ได้ด้วยคนในหัวอกเดียวกัน ไม่ทอดทิ้งกัน ส่งกันจนวินาทีสุดท้าย ช่วยเหลือกันจนเหลือแต่ขี้เถ้า นี่และมิตรแท้ของคนสนามหลวง ที่สังคมพยายามยัดเหยียดให้เขาเป็นสิ่งสกปรก แต่เราว่าน้ำใจเขาสะอาดมากทีเดียว เพียงแค่คุณมองเขาเท่ากับคุณ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับเราที่เข้ามาเรียนรู้สังคมอีกมุมที่เรามองข้าม ติดต่อได้ที่ 086-687-0902 หรือสามารถโอนเงินเข้าบัญชีของสมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชนได้ที่ ธนาคารกรุงไทย สาขา เซ็นทรัล ปิ่นเกล้า เลขที่บัญชี 031-0-03432-9

http://www.facebook.com/profile.php?ref=profile&id=1371691203#!/notes/jasmin-jaja/mitrthae-hrx-thi-khir-reiyk-a-phexn-tay/488977295577

มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙

วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙



หน้า ๗เล่ม ๑๒๓ ตอนพิเศษ ๙๙ ง ราชกิจจานุเบกษา ๒๕ กันยายน ๒๕๔๙
ประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติเรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคมพ.ศ. ๒๕๔๙อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕๑ (๑๐) แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและ เสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ประกอบกับมาตรา ๓๔ มาตรา ๓๗ มาตรา ๓๙ มาตรา ๔๐ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๕ มาตรา ๕๐และมาตรา ๕๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย และมาตรา ๕๑ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคมพ.ศ. ๒๕๔๔ อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและ เสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๔ มาตรา ๓๗ มาตรา ๓๙ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๕๐ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายคณะกรรมการกิจการโทร คมนาคมแห่งชาติ จึงกำหนดมาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคมไว้ดังต่อไปนี้ข้อ ๑ ประกาศนี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไปข้อ ๒ บรรดาประกาศ ข้อบังคับ และคำสั่งอื่นใด ในส่วนที่มีกำหนดไว้แล้วในประกาศนี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับประกาศนี้ ให้ใช้ประกาศนี้แทนข้อ ๓ ในประกาศนี้“บริการโทรคมนาคม” หมายความว่า บริการโทรคมนาคมที่ผู้รับใบอนุญาตให้แก่ผู้ใช้บริการตามกฎหมายว่าด้วยการ ประกอบกิจการโทรคมนาคมและตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการประกาศกำหนด“ผู้ให้ บริการ” หมายความว่า ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม และให้หมายความรวมถึงผู้ได้รับอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาจากการสื่อสารแห่งประเทศไทยหรือองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคม กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหรือหน่วยงานรัฐอื่นใด ก่อนวันที่พระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ ใช้บังคับหน้า ๘เล่ม ๑๒๓ ตอนพิเศษ ๙๙ ง ราชกิจจานุเบกษา ๒๕ กันยายน ๒๕๔๙“ผู้ใช้บริการ” หมายความว่า ผู้ใช้บริการโทรคมนาคมปลายทางของผู้ให้บริการแต่ไม่รวมถึงผู้ใช้บริการที่ เป็นผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมซึ่งนำบริการโทรคมนาคมที่ได้รับใน ฐานะผู้ใช้บริการไปประกอบกิจการอีกทอดหนึ่ง“สัญญา” หมายความว่า สัญญาให้บริการโทรคมนาคมระหว่างผู้ให้บริการกับผู้ใช้บริการไม่ว่าจะทำในรูป แบบใด“แบบสัญญา” หมายความว่า แบบของสัญญาให้บริการโทรคมนาคมที่ผู้ให้บริการจัดทำขึ้นโดยมีการกำหนดข้อ กำหนดหรือเงื่อนไขเกี่ยวกับสิทธิ และหน้าที่ของผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการไว้ล่วงหน้า เพื่อประโยชน์ในการจัดทำสัญญา“ค่าบริการ” หมายความว่า ค่าธรรมเนียม ค่าบริการ หรือค่าใช้จ่ายอื่นใดที่ผู้รับใบอนุญาตเรียกเก็บจากผู้ให้บริการอันเนื่องมา จากการที่ผู้ใช้บริการได้ใช้ประโยชน์หรือจะใช้ประโยชน์ในบริการโทรคมนาคมที่ ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการโทรคมนาคม“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติข้อ ๔ สัญญาจะมีผลผูกพันและใช้บังคับได้ ต้องเป็นไปตามแบบสัญญาที่คณะกรรมการได้ให้ความเห็นชอบแล้วหรือที่คณะกรรมการ ประกาศกำหนดแบบของสัญญาไว้เป็นการเฉพาะ เว้นแต่คณะกรรมการจะประกาศกำหนดให้สัญญาลักษณะหรือประเภทใด ได้รับยกเว้นไม่ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการแบบสัญญาที่คณะกรรมการจะ ให้ความเห็นชอบต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษร มีรูปแบบและสาระสำคัญไม่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการโทรคมนาคม และเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ในกรณีที่คณะกรรมการเห็นว่ารูปแบบหรือ สาระสำคัญของแบบสัญญาไม่เป็นไปตามที่กำหนดในวรรคสอง คณะกรรมการมีอำนาจสั่งให้ดำเนินการแก้ไขภายในระยะเวลาที่กำหนดข้อ ๕ ก่อนนำแบบสัญญาไปใช้ในการประกอบกิจการ ผู้ให้บริการต้องจัดส่งแบบสัญญาให้คณะกรรมการพิจารณาล่วงหน้าไม่น้อยกว่าหก สิบวัน ในกรณีที่คณะกรรมการต้องการข้อมูลหรือรายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อประกอบการ พิจารณา ผู้ให้บริการจะต้องส่งข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมตามที่คณะกรรมการกำหนด แบบสัญญาใดที่คณะกรรมการได้ให้ความเห็นชอบแล้ว หากต่อมาผู้ให้บริการประสงค์จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อกำหนด หรือเงื่อนไขเกี่ยวกับการให้บริการ อันอาจมีผลกระทบต่อสิทธิหน้า ๙เล่ม ๑๒๓ ตอนพิเศษ ๙๙ ง ราชกิจจานุเบกษา ๒๕ กันยายน ๒๕๔๙หน้าที่ หรือประโยชน์อันพึงได้รับของผู้ใช้บริการ ผู้ให้บริการต้องเสนอให้คณะกรรมการพิจารณาให้ความเห็นชอบล่วงหน้าไม่น้อย กว่าสามสิบวัน เว้นแต่เป็นข้อกำหนดหรือเงื่อนไขเกี่ยวกับการให้บริการที่คณะกรรมการประกาศ ยกเว้นให้ดำเนินการได้โดยไม่ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการในกรณีดัง กล่าวให้ผู้ให้บริการแจ้งให้คณะกรรมการทราบอย่างช้าไม่เกินสามสิบวันหลังจาก ที่ได้ดำเนินการแล้วการเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญของระบบ เทคโนโลยี หรืออุปกรณ์ใด ๆ อันส่งผลกระทบทำให้ประสิทธิภาพในการให้บริการต่ำลง หรือกระทบต่อสิทธิ หน้าที่ หรือประโยชน์อันพึงได้รับของผู้ใช้บริการตามสัญญา ให้ถือว่ามีผลเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดหรือเงื่อนไขในการให้บริการ และต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการก่อนโดยให้ดำเนินการเช่นเดียวกับกรณี ตามวรรคหนึ่งหมวด ๑สัญญาให้บริการโทรคมนาคมข้อ ๖ ผู้ให้บริการมีหน้าที่ต้องแจ้งรายละเอียดของการให้บริการโทรคมนาคมในแต่ละ บริการอย่างชัดเจน และครบถ้วน ผ่านสื่อที่ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงและเข้าใจได้ง่ายเพื่อให้ผู้บริโภคทราบ และใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการเข้าทำสัญญาและเลือกใช้บริการได้ อย่างถูกต้อง โดยอย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญในเรื่องดังต่อไปนี้(๑) ชื่อ ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ สำนักงานสาขาของผู้ให้บริการ(๒) ลักษณะและประเภทบริการ(๓) มาตรฐานและคุณภาพในการให้บริการ(๔) อัตราค่าบริการและวิธีการเรียกเก็บค่าบริการ ยกเว้น กรณีการให้บริการใช้เครือข่ายร่วมระหว่างประเทศ (International Roaming) ซึ่งผู้ให้บริการมิได้เป็นผู้กำหนดอัตราค่าบริการโดยตรง(๕) ข้อจำกัดตลอดจนเงื่อนไขในการให้บริการ(๖) เหตุแห่งการปฏิเสธการให้บริการในกรณีที่คณะกรรมการเห็นว่าการแจ้งรายละเอียด ของผู้ให้บริการไม่เป็นไปตามวรรคหนึ่งและมีคำสั่งให้แก้ไขหรือเพิ่มเติม ผู้ให้บริการต้องดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องและครบถ้วนภายในระยะเวลาที่คณะ กรรมการกำหนดหน้า ๑๐เล่ม ๑๒๓ ตอนพิเศษ ๙๙ ง ราชกิจจานุเบกษา ๒๕ กันยายน ๒๕๔๙ข้อ ๗ แบบสัญญาต้องเป็นข้อกำหนดและเงื่อนไขที่ชัดเจน โดยใช้ข้อความเป็นภาษาไทยที่เข้าใจง่ายและสามารถเห็นและอ่านได้ชัดเจน มีขนาดของตัวอักษรไม่เล็กกว่าสองมิลลิเมตรแบบสัญญาและการแก้ไขเปลี่ยนแปลง แบบสัญญาหรือเงื่อนไขเกี่ยวกับการให้บริการที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะ กรรมการแล้ว ผู้ให้บริการต้องจัดให้มีการเผยแพร่แบบสัญญาและเงื่อนไขดังกล่าวให้ประชาชน ได้ทราบผ่านสื่อที่ผู้ใช้บริการเข้าถึงและเข้าใจได้ง่ายเป็นการทั่วไปโดย เร็วข้อ ๘ สัญญาย่อมเกิดขึ้นเมื่อคู่สัญญาได้แสดงเจตนาเสนอและสนองถูกต้องตรงกัน โดยชัดแจ้งว่าผู้ให้บริการตกลงให้บริการโทรคมนาคม และผู้ใช้บริการตกลงใช้บริการโทรคมนาคมของผู้ให้บริการในกรณีที่ผู้ใช้ บริการมิได้ปฏิเสธข้อเสนอเกี่ยวกับบริการใดของผู้ให้บริการจะถือว่าผู้ใช้ บริการได้แสดงเจตนาตกลงใช้บริการนั้นของผู้ให้บริการมิได้ เว้นแต่เป็นกรณีที่ผู้ใช้บริการได้ใช้บริการนั้นอยู่แล้ว และประสงค์จะใช้บริการนั้นต่อไปในการพิจารณาคำขอใช้บริการ ผู้ให้บริการจะกระทำการอันมีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติแบ่งแยก หรือกีดกันผู้ขอใช้บริการรายหนึ่งรายใดโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรมิได้ และการปฏิเสธมิให้ผู้ใช้บริการรายหนึ่งรายใดเข้าทำสัญญาใช้บริการโทรคมนาคม จะต้องเป็นเหตุตามที่ได้แจ้งรายละเอียดเหตุแห่งการปฏิเสธให้ผู้ใช้บริการ ทราบตามข้อ ๖ (๖) แล้วเท่านั้นข้อ ๙ เมื่อได้ทำสัญญาแล้ว ผู้ให้บริการต้องจัดทำสำเนาสัญญานั้นเป็นหนังสือและส่งมอบให้แก่ผู้ใช้ บริการ หรือออกหลักฐานอย่างอื่นที่ผู้ใช้บริการสามารถใช้เป็นหลักฐานได้เช่นเดียว กับหนังสือในกรณีที่ผู้ใช้บริการมีคำขอเช่นนั้นความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้ บังคับแก่การให้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศหรือบริการโทรคมนาคมที่เรียก เก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการเป็นการล่วงหน้าซึ่งไม่มีการทำสัญญาเป็นลาย ลักษณ์อักษร ทั้งนี้ ผู้ให้บริการจะต้องแสดงอัตราค่าบริการให้ผู้ใช้บริการทราบล่วงหน้าเป็นการ ทั่วไปอย่างชัดแจ้ง คณะกรรมการอาจกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับการให้บริการดังกล่าวเพื่อ ประโยชน์ในการคุ้มครองผู้บริโภคด้วยก็ได้ข้อ ๑๐ สัญญาอย่างน้อยจะต้องมีสาระสำคัญเกี่ยวกับสิทธิหน้าที่ระหว่างผู้ให้บริการ และผู้ใช้บริการดังต่อไปนี้(๑) มีข้อกำหนดเกี่ยวกับลักษณะและประเภทของบริการ(๒) มีข้อกำหนดเกี่ยวกับมาตรฐานการให้บริการของผู้ให้บริการหน้า ๑๑เล่ม ๑๒๓ ตอนพิเศษ ๙๙ ง ราชกิจจานุเบกษา ๒๕ กันยายน ๒๕๔๙(๓) มีข้อกำหนดเกี่ยวกับหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ ที่ชัดเจนและเป็นธรรม(๔) มีข้อกำหนดเกี่ยวกับอัตราค่าธรรมเนียม และค่าบริการอย่างครบถ้วน เป็นธรรมและจะต้องมีข้อกำหนดรับรองการไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียม หรือค่าบริการนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ทั้งนี้ สัญญาดังกล่าวจะต้องไม่มีข้อกำหนดที่มีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติ แบ่งแยกกีดกัน หรือไม่เป็นธรรมแก่ผู้ใช้บริการข้อ ๑๑ การให้บริการโทรคมนาคมในลักษณะที่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการเป็น การล่วงหน้าจะต้องไม่มีข้อกำหนดอันมีลักษณะเป็นการบังคับให้ผู้ใช้บริการ ต้องใช้บริการภายในระยะเวลาที่กำหนด เว้นแต่ ผู้ให้บริการจะได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการเป็นการล่วงหน้าทั้งนี้ คณะกรรมการอาจกำหนดเงื่อนไขการให้บริการประกอบด้วยก็ได้ เช่น การถ่ายโอนมูลค่าที่เหลืออยู่การคืนเงินค่าบริการในส่วนที่ไม่ได้ใช้บริการ การกำหนดระยะเวลาขั้นต่ำในการใช้บริการ การขึ้นทะเบียนชื่อที่อยู่ของผู้ใช้บริการ เป็นต้น ในการนี้คณะกรรมการอาจจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะหรือรับฟังความ คิดเห็นจากผู้บริโภคด้วยก็ได้ผู้ให้บริการตามวรรคหนึ่งต้องเผยแพร่แบบสัญญา ที่คณะกรรมการเห็นชอบแล้วเป็นการทั่วไป และแจ้งให้ผู้ใช้บริการทราบเป็นหนังสือก่อนเริ่มใช้บริการข้อ ๑๒ ในการทำสัญญา ผู้ให้บริการจะขอให้ผู้ใช้บริการให้ข้อมูลส่วนบุคคลเกินกว่าความจำเป็นเพื่อ การปฏิบัติตามสัญญามิได้ เว้นแต่ผู้ใช้บริการได้ให้ความยินยอมโดยชัดแจ้งและผู้ให้บริการได้แจ้งวัตถุ ประสงค์ของการขอข้อมูลดังกล่าวให้แก่ผู้ใช้บริการทราบล่วงหน้าแล้วผู้ให้ บริการจะนำข้อมูลที่ได้มาจากการให้บริการแก่ผู้ใช้บริการนั้นไปใช้เพื่อ ประโยชน์อย่างอื่นโดยมิได้รับความยินยอมโดยชัดแจ้งจากผู้ใช้บริการมิได้ เว้นแต่เป็นการใช้เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามกฎหมายหมวด ๒สิทธิและหน้าที่ของผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการข้อ ๑๓ ผู้ให้บริการมีหน้าที่ต้องให้บริการโทรคมนาคมตามมาตรฐานและคุณภาพการให้ บริการตามที่ได้โฆษณาหรือแจ้งให้ผู้ใช้บริการทราบ โดยมาตรฐานและคุณภาพ การให้บริการดังกล่าวต้องไม่ต่ำกว่าหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการประกาศกำหนดหน้า ๑๒เล่ม ๑๒๓ ตอนพิเศษ ๙๙ ง ราชกิจจานุเบกษา ๒๕ กันยายน ๒๕๔๙ในกรณีที่มีข้อโต้แย้งว่าการให้บริการโทรคมนาคมไม่เป็นไปตามมาตรฐานและ คุณภาพการให้บริการตามที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่ง ผู้ให้บริการมีภาระในการพิสูจน์ข้อโต้แย้งดังกล่าวและต้องดำเนินการอย่าง หนึ่งอย่างใดเพื่อเป็นการแก้ไขเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ผู้ใช้ บริการอย่างเป็นธรรมข้อ ๑๔ ในกรณีที่เกิดเหตุขัดข้องขึ้นกับการให้บริการโทรคมนาคมของผู้ให้บริการจน เป็นเหตุให้ผู้ใช้บริการไม่สามารถใช้บริการได้ตามปกติ ผู้ให้บริการมีหน้าที่ต้องดำเนินการแก้ไขเพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถใช้ บริการโทรคมนาคมได้โดยเร็วและผู้ให้บริการไม่มีสิทธิเรียกเก็บค่าบริการใน ช่วงเวลาที่เกิดเหตุขัดข้องดังกล่าวได้ เว้นแต่ผู้ให้บริการพิสูจน์ได้ว่าเหตุขัดข้องดังกล่าวเกิดขึ้นจากความผิดของ ผู้ใช้บริการข้อ ๑๕ ในกรณีที่ผู้ให้บริการได้ส่งมอบเครื่องอุปกรณ์หรือสิ่งอื่นที่เกี่ยวข้องให้ แก่ผู้ใช้บริการโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายหรือคิดค่าใช้จ่ายในราคาที่ต่ำกว่าราคา ตลาดของค่าอุปกรณ์ ในขณะที่ส่งมอบเพื่อประโยชน์ในการใช้บริการโทรคมนาคมนั้น ผู้ให้บริการจะถือเอาเหตุดังกล่าวมากำหนดเป็นเงื่อนไขอันก่อให้เกิดภาระแก่ ผู้ใช้บริการหรือเรียกเก็บค่าปรับหรือค่าเสียหายจากการที่ผู้ใช้บริการยก เลิกสัญญาก่อนกำหนดมิได้ผู้ใช้บริการที่ได้รับมอบเครื่องอุปกรณ์หรือสิ่ง อื่นที่เกี่ยวข้องตามวรรคหนึ่งมีหน้าที่ต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้ เครื่องอุปกรณ์ดังกล่าว และต้องส่งคืนให้แก่ผู้ให้บริการเมื่อสัญญาสิ้นสุดลง หากผู้ใช้บริการก่อให้เกิดความเสียหายแก่เครื่องอุปกรณ์นั้น ผู้ให้บริการมีสิทธิเรียกให้ผู้ใช้บริการรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามความเสีย หายที่เกิดขึ้นจริงแก่เครื่องอุปกรณ์ดังกล่าวได้ ทั้งนี้จะต้องไม่เกินกว่าราคาตลาดของค่าอุปกรณ์ดังกล่าวในขณะนั้นในกรณีที่ ผู้ให้บริการประสงค์จะคิดค่าใช้จ่ายจากการส่งมอบเครื่องอุปกรณ์หรือสิ่งอื่น ที่เกี่ยวข้องตามวรรคหนึ่งจากผู้ใช้บริการ ค่าใช้จ่ายดังกล่าวจะต้องไม่เกินอัตราที่คณะกรรมการประกาศกำหนดหมวด ๓สิทธิและหน้าที่ในการเรียกเก็บและการชำระค่าบริการข้อ ๑๖ ผู้ให้บริการต้องเรียกเก็บค่าธรรมเนียมและค่าบริการไม่เกินอัตราขั้นสูงที่ คณะกรรมการประกาศกำหนด และต้องเป็นอัตราตามที่ได้มีการตกลงไว้ในสัญญาโดยต้องเรียกเก็บหน้า ๑๓เล่ม ๑๒๓ ตอนพิเศษ ๙๙ ง ราชกิจจานุเบกษา ๒๕ กันยายน ๒๕๔๙จากผู้ใช้บริการของตนในอัตราเดียวกันสำหรับบริการโทรคมนาคมที่มีลักษณะ หรือประเภทเดียวกันและไม่มีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติ แบ่งแยก หรือกีดกันผู้ใช้บริการรายหนึ่งรายใดข้อ ๑๗ ผู้ให้บริการต้องจัดส่งใบแจ้งรายการการใช้บริการโทรคมนาคมของผู้ใช้บริการ เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมและค่าบริการให้ผู้ใช้บริการทราบล่วงหน้าเป็น ระยะเวลาไม่น้อยกว่าสิบห้าวันก่อนวันครบกำหนดชำระ โดยใบแจ้งรายการดังกล่าวจะต้องแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับอัตราค่าธรรมเนียม อัตราค่าใช้บริการ และการคำนวณค่าธรรมเนียมและค่าบริการในลักษณะที่ชัดเจนเพียงพอเพื่อให้ผู้ ใช้บริการสามารถเข้าใจถึงที่มาของค่าใช้จ่ายที่ปรากฏอยู่ในใบแจ้งรายการนั้น ได้ใบแจ้งรายการใช้บริการโทรคมนาคมของผู้ใช้บริการตามวรรคหนึ่ง จะต้องกำหนดถึงวิธีการต่าง ๆ ในการรับชำระเงินของผู้ให้บริการไว้โดยชัดแจ้ง เพื่อประโยชน์ในการชำระเงินของผู้ใช้บริการความในข้อนี้มิให้ใช้บังคับกับ กรณี ดังต่อไปนี้
(๑) กรณีการให้บริการในลักษณะที่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการเป็นการล่วง หน้าซึ่งไม่สามารถส่งใบแจ้งเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการ ทั้งนี้ ผู้ให้บริการจะต้องแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับอัตราค่าธรรมเนียม ค่าใช้บริการ และวิธีการคำนวณค่าธรรมเนียมและค่าบริการที่ชัดเจน รวมถึงค่าบริการที่เรียกเก็บเป็นการล่วงหน้าที่เหลืออยู่ ให้ผู้ใช้บริการทราบเป็นลายลักษณ์อักษร
(๒) กรณีที่ผู้ใช้บริการได้ทำความตกลงกับผู้ให้บริการเพื่อยกเว้นการแสดงราย ละเอียดในใบแจ้งรายการใช้บริการดังกล่าวข้อ ๑๘ ผู้ให้บริการต้องกำหนดวิธีการในการส่งใบแจ้งรายการการใช้บริการโทรคมนาคม เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการให้ชัดแจ้ง และต้องแจ้งให้ผู้ใช้บริการทราบเป็นหนังสือไปยังสถานที่ติดต่อของผู้ใช้ บริการที่ได้แจ้งไว้ หรือโดยวิธีการอื่นหากผู้ใช้บริการได้ยินยอมหรือประสงค์ให้แจ้งโดยวิธีการ อื่นนั้นข้อ ๑๙ ผู้ให้บริการจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ค่าบริการ หรือค่าใช้จ่ายอื่นนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในสัญญามิได้ข้อ ๒๐ ผู้ให้บริการจะกำหนดให้ผู้ใช้บริการต้องวางเงินประกันหรือต้องชำระเงินอื่น ที่มีลักษณะเช่นเดียวกับเงินประกันเพื่อใช้บริการโทรคมนาคมของผู้ให้บริการ มิได้หน้า ๑๔เล่ม ๑๒๓ ตอนพิเศษ ๙๙ ง ราชกิจจานุเบกษา ๒๕ กันยายน ๒๕๔๙ข้อ ๒๑ ผู้ให้บริการจะกำหนดให้ผู้ใช้บริการต้องชำระดอกเบี้ย เบี้ยปรับ หรือเงินอื่นใดในลักษณะดังกล่าว ในกรณีที่ผู้ใช้บริการผิดนัดชำระค่าบริการให้เกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด หรือที่คณะกรรมการให้ความเห็นชอบมิได้ข้อ ๒๒ ในกรณีที่ผู้ใช้บริการเห็นว่าผู้ให้บริการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่า บริการสูงกว่าอัตราขั้นสูงที่คณะกรรมการกำหนดตามข้อ ๑๖ หรือสูงกว่าที่เรียกเก็บจากผู้ใช้บริการรายอื่นที่ใช้บริการโทรคมนาคมใน ลักษณะหรือประเภทเดียวกัน หรือเห็นว่าผู้ให้บริการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการโดยไม่ถูกต้อง ผู้ใช้บริการมีสิทธิขอข้อมูลเกี่ยวกับการใช้บริการของตนจากผู้ให้บริการได้ ผู้ให้บริการมีหน้าที่ต้องพิสูจน์ข้อเท็จจริงเพื่อยืนยันความถูกต้องของการ เรียกเก็บค่าธรรมเนียมและค่าบริการดังกล่าว และต้องแจ้งข้อมูลตามวรรคหนึ่งให้ผู้ใช้บริการทราบโดยเร็วแต่ทั้งนี้ต้องไม่ เกินหกสิบวันนับแต่วันที่ผู้ใช้บริการมีคำขอตามวรรคหนึ่ง หากผู้ให้บริการไม่ดำเนินการภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ให้บริการนั้นสิ้นสิทธิในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่า บริการในจำนวนที่ผู้ใช้บริการได้โต้แย้งนั้นข้อ ๒๓ ในกรณีที่ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ผู้ให้บริการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการเกินกว่าจำนวนที่เกิดขึ้น จากการใช้บริการจริง ผู้ให้บริการจะต้องคืนเงินส่วนต่างของค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการที่เรียก เก็บเกินให้แก่ผู้ใช้บริการภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ข้อเท็จจริงยุติ และผู้ให้บริการต้องชำระดอกเบี้ยในส่วนต่างในอัตราเท่ากับที่ได้กำหนดไว้ว่า จะเรียกเก็บจากผู้ใช้บริการในกรณีที่ผู้ใช้บริการผิดนัด เว้นแต่ผู้ใช้บริการจะได้ตกลงเลือกให้ดำเนินการในการคืนเงินส่วนต่างที่ เรียกเก็บเกินเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ การคืนเงินส่วนต่างให้แก่ผู้ใช้บริการอาจคืนด้วยเงินสด เช็ค หรือนำเข้าบัญชีเงินฝากของผู้ใช้บริการ หรือตามวิธีการที่ผู้ใช้บริการได้แจ้งความประสงค์ไว้ข้อ ๒๔ เมื่อผู้ใช้บริการได้ชำระค่าธรรมเนียมและค่าบริการให้แก่ผู้ให้บริการตามที่ เรียกเก็บแล้วผู้ให้บริการจะต้องออกหลักฐานเป็นหนังสือแก่ผู้ใช้บริการเพื่อ แสดงว่าตนได้รับชำระค่าบริการจากผู้ใช้บริการแล้วความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้ บังคับแก่บริการโทรคมนาคมในลักษณะที่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการ เป็นการล่วงหน้าซึ่งไม่มีการออกใบรายการการใช้บริการหน้า ๑๕เล่ม ๑๒๓ ตอนพิเศษ ๙๙ ง ราชกิจจานุเบกษา ๒๕ กันยายน ๒๕๔๙หมวด ๔การระงับการใช้บริการและการให้บริการโทรคมนาคมข้อ ๒๕ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็น ผู้ใช้บริการอาจใช้สิทธิระงับการใช้บริการโทรคมนาคมของผู้ให้บริการเป็นการ ชั่วคราวก็ได้ โดยแจ้งเป็นหนังสือหรือด้วยวิธีการอื่นใดที่ผู้ให้บริการจัดขึ้นเพื่อรับ แจ้งให้ผู้ให้บริการทราบล่วงหน้าเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามวันและถือเป็น หน้าที่ของผู้ให้บริการที่ต้องจัดให้มีระบบรับแจ้งดังกล่าวอย่างเพียงพอตลอด เวลา ในการนี้ ผู้ให้บริการจะกำหนดระยะเวลาขั้นต่ำหรือขั้นสูงที่ยินยอมให้ผู้ใช้บริการ ระงับการใช้บริการโทรคมนาคมชั่วคราวไว้ในแบบสัญญาด้วยก็ได้ในการขอระงับการ ใช้บริการโทรคมนาคมดังกล่าวตามวรรคหนึ่ง ผู้ให้บริการจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายใด ๆ จากผู้ใช้บริการไม่ได้ เว้นแต่ กรณีที่ผู้ใช้บริการระงับบริการเกินกว่าระยะเวลาขั้นสูงที่ผู้ให้บริการ กำหนดตามวรรคหนึ่งแล้ว ผู้ให้บริการมีสิทธิยกเลิกการให้บริการได้โดยแจ้งให้ผู้ใช้บริการทราบล่วง หน้าเป็นหนังสือไม่น้อยกว่าสามสิบวันข้อ ๒๖ เมื่อผู้ใช้บริการได้แจ้งขอระงับการใช้บริการโทรคมนาคมต่อผู้ให้บริการตาม หลักเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศฉบับนี้แล้ว ผู้ใช้บริการย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดในค่าบริการที่เกิดขึ้นภายหลังการแจ้ง ขอระงับการใช้บริการชั่วคราวมีผล เว้นแต่ผู้ให้บริการจะพิสูจน์ได้ว่าค่าบริการที่เกิดขึ้นเป็นผลจากการกระทำ ของผู้ใช้บริการข้อ ๒๗ เมื่อครบกำหนดการขอระงับการใช้บริการโทรคมนาคมชั่วคราวแล้ว ผู้ให้บริการมีหน้าที่ต้องเปิดให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าใช้บริการดังกล่าว ได้ทันที โดยผู้ให้บริการจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายใด ๆ จากผู้ใช้บริการไม่ได้ข้อ ๒๘ ในกรณีที่มีเหตุจำ เป็น ผู้ให้บริการมีสิทธิระงับการให้บริการโทรคมนาคมเป็นการชั่วคราวต่อผู้ใช้ บริการก็ได้ โดยแจ้งเป็นหนังสือพร้อมทั้งระบุเหตุในการใช้สิทธิดังกล่าวให้ แก่ผู้ใช้บริการทราบล่วงหน้าเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวัน เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้ผู้ให้บริการสามารถระงับการให้บริการได้ทันที(๑) เกิดเหตุสุดวิสัยขึ้นแก่ผู้ให้บริการ(๒) ผู้ใช้บริการถึงแก่ความตาย หรือสิ้นสุดสภาพนิติบุคคล(๓) ผู้ใช้บริการใช้เอกสารปลอมในการขอใช้บริการหน้า ๑๖เล่ม ๑๒๓ ตอนพิเศษ ๙๙ ง ราชกิจจานุเบกษา ๒๕ กันยายน ๒๕๔๙(๔) ผู้ให้บริการพิสูจน์ได้ว่าบริการโทรคมนาคมที่ให้แก่ผู้ใช้บริการถูกนำไปใช้ โดยมิชอบด้วยกฎหมายหรือฝ่าฝืนต่อสัญญา(๕) ผู้ใช้บริการซึ่งใช้บริการโทรคมนาคมในลักษณะที่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือ ค่าบริการภายหลังได้ใช้บริการเกินวงเงินค่าบริการที่ได้ตกลงไว้ในสัญญา ในกรณีนี้ผู้ให้บริการจะต้องแจ้งเตือนให้ผู้ใช้บริการทราบล่วงหน้าเมื่อเห็น ว่าผู้ใช้บริการได้ใช้บริการใกล้เต็มวงเงินตามที่ได้ตกลงไว้ในสัญญา ทั้งนี้ การกำหนดวงเงินที่เหลืออยู่ซึ่งผู้ให้บริการจะต้องแจ้งให้ผู้ใช้บริการทราบ ล่วงหน้านั้นจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการก่อน(๖) ผู้ใช้บริการผิดนัดชำระค่าธรรมเนียมและค่าบริการเกินกว่าระยะเวลาที่กำหนดใน สัญญาสองคราวติดต่อกัน(๗) ผู้ให้บริการพิสูจน์ได้ว่าผู้ใช้บริการได้นำบริการโทรคมนาคมไปใช้เพื่อแสวง หารายได้โดยมีเจตนาจะไม่ชำระค่าธรรมเนียมและค่าบริการ(๘) ผู้ให้บริการมีเหตุที่จำเป็นต้องบำรุงรักษาหรือแก้ไขระบบโทรคมนาคมที่ใช้ใน การให้บริการทั้งนี้ เหตุในการระงับการให้บริการโทรคมนาคมดังกล่าวจะต้องไม่มีข้อกำหนดที่เป็นการ จำกัดการใช้ประโยชน์ของผู้ใช้บริการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรข้อ ๒๙ ในกรณีการให้บริการโทรคมนาคมเป็นประเภทที่มีอุปกรณ์ที่ระบุตัวผู้ใช้บริการ ในการคิดค่าบริการ เมื่อผู้ใช้บริการได้แจ้งเหตุที่อุปกรณ์ระบุตัวผู้ใช้บริการสูญหายให้ผู้ให้ บริการทราบผู้ให้บริการต้องดำเนินการระงับการให้บริการในทันทีที่ได้รับแจ้ง และผู้ใช้บริการไม่ต้องรับผิดชำระค่าธรรมเนียมและค่าบริการที่เกิดขึ้นภาย หลังการแจ้งดังกล่าว เว้นแต่ผู้ให้บริการจะพิสูจน์ได้ว่าความรับผิดในหนี้นั้นเกิดขึ้นจากการ กระทำของผู้ใช้บริการเองหมวด ๕การเลิกสัญญาการให้บริการโทรคมนาคมข้อ ๓๐ ผู้ใช้บริการจะโอนสิทธิการใช้บริการตามสัญญาให้แก่บุคคลอื่นมิได้ เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากผู้ให้บริการถ้าผู้ใช้บริการกระทำการฝ่าฝืน ความในข้อนี้ ผู้ให้บริการจะบอกเลิกสัญญาเสียก็ได้หน้า ๑๗เล่ม ๑๒๓ ตอนพิเศษ ๙๙ ง ราชกิจจานุเบกษา ๒๕ กันยายน ๒๕๔๙ข้อ ๓๑ การโอนสิทธิการให้บริการตามสัญญาไปยังผู้ให้บริการรายอื่นจะกระทำมิได้ เว้นแต่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ และผู้รับโอนจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามสัญญาที่มีผลอยู่ก่อนการโอนข้อ ๓๒ ผู้ใช้บริการมีสิทธิเลิกสัญญาในเวลาใดก็ได้ด้วยการบอกกล่าวเป็นหนังสือให้ แก่ผู้ให้บริการทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าห้าวันทำการ ทั้งนี้ ผู้ใช้บริการจะต้องชำระค่าบริการครบถ้วนแล้วจนถึงวันที่การยกเลิกสัญญามีผล บังคับในกรณีที่มีเหตุดังต่อไปนี้ ผู้ใช้บริการอาจใช้สิทธิเลิกสัญญาได้ทันที(๑) ผู้ใช้บริการไม่สามารถรับบริการจากผู้ให้บริการได้ด้วยเหตุที่เกิดขึ้นอย่าง ต่อเนื่องและอยู่นอกเหนือการควบคุมของผู้ใช้บริการ(๒) ผู้ให้บริการได้ละเมิดข้อตกลงอันเป็นสาระสำคัญของสัญญา(๓) ผู้ให้บริการตกเป็นบุคคลล้มละลาย(๔) ผู้ให้บริการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงในสัญญาหรือเงื่อนไขในการให้บริการซึ่งมีผล เป็นการลดสิทธิหรือประโยชน์อันพึงได้รับของผู้ใช้บริการลง เว้นแต่เกิดจากเหตุตามที่กฎหมายบัญญัติข้อ ๓๓ ห้ามมิให้ผู้ให้บริการยกเลิกการให้บริการโทรคมนาคมตามสัญญา เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้(๑) ผู้ใช้บริการถึงแก่ความตาย หรือสิ้นสุดสภาพนิติบุคคล(๒) ผู้ใช้บริการผิดนัดชำระค่าธรรมเนียมและค่าบริการเกินกว่าระยะเวลาที่กำหนดใน สัญญาสองคราวติดต่อกัน โดยผู้ให้บริการได้แจ้งให้ผู้ใช้บริการทราบถึงวันครบกำหนดที่แน่นอนเป็นการ ล่วงหน้าในใบแจ้งเรียกเก็บค่าธรรมเนียมและค่าบริการและได้ทำการเตือนตามวิธี การที่ได้กำหนดไว้ในสัญญาแล้ว(๓) ผู้ให้บริการมีเหตุผลอันเชื่อได้ว่าผู้ใช้บริการมีพฤติกรรมฉ้อฉลในการใช้ บริการหรือนำบริการไปใช้โดยผิดกฎหมาย หรือฝ่าฝืนข้อห้ามในสัญญา(๔) ผู้ให้บริการไม่สามารถให้บริการได้โดยเหตุที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของผู้ ให้บริการ(๕) เป็นการยกเลิกโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายข้อ ๓๔ เมื่อสัญญาเลิกกัน ในกรณีที่ผู้ให้บริการมีเงินค้างชำระแก่ผู้ใช้บริการ ผู้ให้บริการต้องคืนเงินนั้นให้แก่ผู้ใช้บริการหน้า ๑๘เล่ม ๑๒๓ ตอนพิเศษ ๙๙ ง ราชกิจจานุเบกษา ๒๕ กันยายน ๒๕๔๙ในการคืนเงินดังกล่าว เมื่อผู้ให้บริการได้ตรวจสอบหลักฐานแล้วว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับผู้ใช้บริการ หรือเป็นผู้รับมอบอำนาจจากผู้ใช้บริการอย่างถูกต้องแล้ว ให้ผู้ให้บริการคืนเงินภายในสามสิบวันนับแต่วันเลิกสัญญาทั้งนี้ การคืนเงินค้างชำระแก่ผู้ใช้บริการ อาจคืนด้วยเงินสด เช็ค หรือนำเข้าบัญชีเงินฝากของผู้ใช้บริการ หรือตามวิธีการที่ผู้ใช้บริการได้แจ้งความประสงค์ไว้กรณีผู้ให้บริการไม่ สามารถคืนเงินค้างชำระให้แก่ผู้ใช้บริการได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดผู้ให้ บริการต้องชำระค่าเสียประโยชน์ในอัตราเท่ากับอัตราดอกเบี้ยที่ผู้ให้บริการ คิดจากผู้ใช้บริการกรณีผู้ใช้บริการผิดนัดไม่ชำระค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการ แก่ผู้ให้บริการ แต่ทั้งนี้ ไม่ตัดสิทธิผู้ใช้บริการที่จะเรียกค่าเสียหายอย่างอื่นหมวด ๖การร้องเรียนและการแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนข้อ ๓๕ ผู้ให้บริการต้องจัดทำและแจ้งให้ผู้ใช้บริการได้ทราบถึงหลักเกณฑ์การรับ เรื่องร้องเรียนและการแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนระหว่างผู้ใช้บริการและผู้ให้ บริการ ซึ่งต้องมีความชัดเจนในเรื่องขั้นตอนการดำเนินการ ระยะเวลาดำเนินการ และผลของการดำเนินการ ทั้งนี้ ในการดำเนินการดังกล่าวจะต้องสอดคล้องกับหลักเกณฑ์การรับเรื่องร้องเรียนและ การแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนหรือการระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับบริการโทรคมนาคม ระหว่างผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนดบทเฉพาะกาล ข้อ ๓๖ สัญญาระหว่างผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่ประกาศ ฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ให้ผู้ให้บริการดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมแบบสัญญาให้เป็นไปตามประกาศฉบับนี้ และส่งให้คณะกรรมการภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ เพื่อให้คณะกรรมการให้ความเห็นชอบเมื่อคณะกรรมการให้ความเห็นชอบแล้ว ให้ผู้ให้บริการแจ้งการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวเป็นหนังสือไปยังผู้ใช้บริการ ภายในสามสิบวัน เพื่อให้ผู้ใช้บริการพิจารณาว่าจะผูกพันตามสัญญาต่อไปหรือยกเลิกสัญญาดัง กล่าวหน้า ๑๙เล่ม ๑๒๓ ตอนพิเศษ ๙๙ ง ราชกิจจานุเบกษา ๒๕ กันยายน ๒๕๔๙เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาสามสิบวันตามวรรคสองแล้ว หากผู้ใช้บริการมิได้แสดงเจตนายกเลิกสัญญาเป็นหนังสือ ให้ถือว่าผู้ใช้บริการประสงค์จะผูกพันตามสัญญาดังกล่าวต่อไปให้สัญญาใหม่มี ผลใช้บังคับเมื่อครบกำหนดระยะเวลาตามวรรคสาม ทั้งนี้ ในระหว่างระยะเวลาพิจารณาตามวรรคสองและวรรคสาม ให้สัญญาเก่ายังคงมีผลใช้บังคับอยู่ต่อไป
ประกาศ ณ วันที่ ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙
พลเอก ชูชาติ พรหมพระสิทธิ์ประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2549/E/099/7.PDF